ในสมัยพุทธกาลไม่มีนิกายนะ
มีแต่ "ธรรมกาย"
เพราะสมัยนั้นเขาปฏิบัติ
จนกระทั่งเข้าถึงธรรมกายกันเป็นเรื่องปกติ
แค่ได้ยินได้ฟังธรรมก็บรรลุธรรมาพิสมัย
บรรลุธรรมกันแล้ว
แต่ต่อมาก็ย่อหย่อนในการปฏิบัติ ไม่ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติธรรม
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ การศึกษาอะไรเหล่านี้ เป็นต้น เพราะฉะนั้นคำสอนก็เลยเลอะเลือนเลือนลางไป
มีแต่คำว่า ธรรมกาย ยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์ต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาซึ่งกระจัดกระจายไปตามนิกายต่าง
ๆ
แล้วก็มีนักคิดเกิดขึ้น ก็คิดกันไปตามเรื่องตามราวเท่าที่ตัวเองจะเข้าใจ
โดยใช้จินตมยปัญญา มีบางพวกเจริญภาวนาเหมือนกัน แต่ปฏิบัติไปไม่ถึงจุดตรงนั้น เพราะฉะนั้นความเห็นก็แตกต่างกันไป
นิกายก็เลยเกิดขึ้นในภายหลัง
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ของเราบังเกิดขึ้น แล้วก็ได้มีการค้นพบวิชชาธรรมกายเกิดขึ้นมาเมื่อ
๘๘ ปีที่ผ่านมา เราจึงปฏิบัติได้ถูกต้อง แต่ว่าผู้ที่มาภายหลังนั้นไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน
ไม่ได้ปฏิบัติ หรือได้ปฏิบัติแต่ปฏิบัติไม่ได้ ก็เลยเข้าใจว่าธรรมกายคือนิกายใหม่เพราะมีคำว่า
กาย
เพราะฉะนั้น ดั้งเดิมมีแต่ธรรมกาย ไม่มีนิกายอะไรต่าง
ๆ นิกายเพิ่งมาเปลี่ยนแปลงภายหลัง และมาเหมาเข้าใจว่า ธรรมกายคือนิกายใหม่ ไม่ใช่นิกายใหม่
และก็ไม่ใช่นิกายเก่า แต่ว่าเป็นของดั้งเดิมในสมัยพุทธกาลในยุคที่ไม่มีนิกาย มีแต่ธรรมกาย
และเพิ่งมาเป็นธรรมกลายในภายหลัง มี ล ลิง เพิ่มเติมขึ้นมาอีก คือกลายไปเป็นโน่นเป็นนี่อะไรต่าง
ๆ
เพราะฉะนั้นเราจึงเป็นหนี้พระคุณของพระเดชพระคุณหลวงปู่มาก นอกจากการปฏิบัติบูชาหรืออามิสบูชาแล้ว
ก็คิดที่จะตอบแทนพระคุณท่าน จึงได้สร้างรูปหล่อทองคำ รูปเหมือนท่านขึ้นมา แล้วก็ชักชวนผู้มีบุญทั้งหลายมาหล่อรูปบุคคลสำคัญของโลกและจักรวาล
ที่ทำให้เราเข้าใจเรื่องราวความเป็นจริงของชีวิต และมีความมั่นใจว่าพระพุทธเจ้ามีจริง
พระธรรม พระสงฆ์มีจริง ๆ
เดี๋ยวนี้เขาไม่ค่อยจะเข้าใจกันนะ ยิ่งเรียนทางโลกมาก
ๆ ยิ่งไม่ค่อยจะเชื่อว่ามีพระพุทธเจ้าจริง เขาบอกว่า พระไตรปิฎกนี่ผู้เขียนต้องเป็นนักคิดที่ยิ่งใหญ่
โอ ถ้าใครคิดได้ขนาดนี้ โดยไม่ได้ค้น ไม่ได้ปฏิบัติให้เข้าถึง กะโหลกจะบานสติจะเฟื่องเสียก่อน
เพราะฉะนั้นความรู้ที่มีอยู่ในพระไตรปิฎก ไม่ได้เกิดจากความคิด
แต่เกิดจากการเห็นแจ้ง แล้วจึงรู้แจ้งแทงตลอดแล้วนำมาบันทึกถ่ายทอดกันมา ให้เพื่อนมนุษย์
ให้มวลมนุษยชาติได้ดำเนินชีวิตได้ถูกต้อง พอดำเนินชีวิตถูกต้องก็ปิดประตูอบายแล้วก็เปิดประตูสวรรค์กัน
นี่เป็นเรื่องที่สำคัญ
คุณครูไม่ใหญ่
๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559