หลวงพ่ออยากให้วัดของเรา มีบรรยากาศเหมือนสมัยพุทธกาล ที่ทุกรูปตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมกันอย่างเต็มที่ คิดแบบพระ
พูดแบบพระ และทำแบบพระ เป็นพระแท้...อย่างแท้จริง แล้วก็มีพระภายในเป็นเพื่อนในทุกอิริยาบถ
ทุกกิจกรรม นั่ง นอน ยืน เดิน เหยียดแขน คู้แขน กลับหน้า กลับหลัง ขบฉัน หรือไม่ว่าจะทำอะไรก็แล้วแต่
นี่คือความตั้งใจของหลวงพ่อ อยากให้การบวชในครั้งนี้ เป็นการบวชเพื่อให้เข้าถึงความสมปรารถนา อย่างน้อยที่สุดอยากจะให้รู้ว่า การเข้าถึงไตรสรณคมน์เป็นอย่างไร
เราได้ยิน
ได้ฟัง ได้อ่านในพระไตรปิฎก หรือครูบาอาจารย์สั่งสอนว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม
โปรดพระเจ้าพิมพิสารและพสกนิกร ๑๑ ส่วน บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป อีก ๑ ส่วน บรรลุธรรมาภิสมัยเข้าถึงไตรสรณคมน์ เราได้ยินได้ฟังกันแล้วก็เข้าใจว่า หมายถึง
พุทธรัตนะ ธรรมรัตนะ สังฆรัตนะ แล้วก็หมายถึงพระธรรมกาย โดยย่อเป็นอย่างนั้น
แต่จริงๆ แล้ว เรายังเข้าไปไม่ถึงจุดนั้น
หลวงพ่อว่า อย่างน้อยที่สุด ให้เรารู้จักตรงนี้
เอาไว้เป็นที่พึ่ง อยากให้รู้จักว่า คำว่า ที่พึ่งที่ระลึก หรือคำว่า สรณะ
พึ่งได้จริง
หรือลักษณะที่พึ่งที่แท้จริงควรจะเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร
ที่เรายอมรับว่า “นี่คือที่พึ่งที่แท้จริง” หลวงพ่ออยากให้เข้าถึง อย่างน้อยที่สุดก็จุดตรงนี้
และปรารถนามากที่สุดคือ ได้ไปรู้เห็นวิชชาธรรมกาย
นั่นคือความปรารถนาอย่างลึก ๆ ของหลวงพ่อ ที่มีอยู่กับลูกทุกรูป อยากให้เข้าถึง
เพราะพูดกันมายาวนานหลายสิบปีแล้วเรื่องวิชชาธรรมกาย อยากให้เข้าถึงกันจริง ๆ เลย
จะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร
คนเราถ้าเกิดมาไม่รู้เรื่องของตัวเองเลย เป็นสิ่งที่เสี่ยงและแปลกประหลาดมาก
และเป็นเรื่องที่บัณฑิตนักปราชญ์ทั้งหลายไม่ควรจะให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นเครื่องที่ทำให้เราประหลาดใจอยู่เรื่อย
ๆ
เราควรจะนึกว่า ตัวของเราเองควรจะรู้เรื่องตัวของเรา
ถ้าเรายังไม่รู้จักตัวของเรา
เรื่องราวของเรา มันเกิดมาฟรีนะ และถ้าไม่รู้ มันก็ไม่ปลอดภัยต่อการดำเนินชีวิต
ต่อการวางเป้าหมายเข็มทิศของชีวิต แล้วก็ประหลาดด้วยที่ไม่รู้เรื่องราวของตัวเราและหลาย
ๆ อย่างที่อยู่ในตัวเองอย่างนี้
หลวงพ่ออยากให้ลูกทุกรูปรู้จักตัวของเรานะ
เหมือนเจ้าชายน้อย ๓๐ องค์ พามเหสีไป ๒๙ องค์ อีกหนึ่งองค์เป็นมเหสีกำมะลอ
คือจ้างโสเภณีมาเป็นภรรยาชั่วคราว แล้วไปเล่นซ่อนหากัน
กำลังสนุกเพลิดเพลิน มเหสีกำมะลอก็หอบสมบัติหนีไป
เจ้าชายและมเหสีทั้งหมดก็เที่ยวตามหาโสเภณีนั้นเพื่อจะเอาสมบัติคืน
ไปเจอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ ก็เข้าไปถามท่านว่า เห็นผู้หญิ่งผ่านมาทางนี้ไหม
พระองค์ก็ไม่ได้บอกว่าเห็นหรือไม่เห็น แต่ทรงถามกลับว่า
“จะไปหาหญิงคนนั้นดี หรือว่าจะหาตัวของเราดี”
บัณฑิตนักปราชญ์ผู้มีบารมีอย่างเจ้าชายทั้ง ๓๐ องค์
พอได้ฟังก็ได้ตอบว่า
“หาตัวเราเองดีกว่า” พระองค์ตรัสว่า “ถ้าจะหาตัวของเราล่ะก็ ให้นั่งอยู่ตรงนี้
เดี๋ยวจะสอนวิธีหาตัวเองให้”
เพราะฉะนั้น ต้องรู้จักตัวจริง ตัวแท้ของเราอยู่ที่ไหน ตัวที่เรานั่งอยู่นี่ เป็นตัวอาศัยชั่วคราว ตัวจริง ๆ ที่เป็นนิจจัง เป็นสุขขัง เป็นอัตตา
มันอยู่ที่ตรงไหน ให้ไปหาตัวนั้น
ตัวเราที่นั่งอยู่นี่เป็นอนัตตา
ไม่ใช่ตัวตน ให้ไปหาอัตตา
อัตตาซ้อนอยู่ในอนัตตา ก็ทำตามพระองค์ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งในที่สุดก็เข้าไปถึงตัวจริง
พอเข้าไปถึงตัวจริง ก็รู้จักว่า อันไหนตัวปลอม หรือของชั่วคราว
เพราะฉะนั้น หลวงพ่ออยากให้อย่างน้อยลูกทุกรูปต้องเข้าไปถึงจุดตรงนี้ให้ได้
หลวงพ่อธัมมชโย
๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
Related Posts
อาชีพพระ ครั้งหนึ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องปฏิจจสมุ
อานิสงส์การเข้าถึงธรรม วันนี้
เราได้กรานกฐิน ได้อานิสงส์ของกฐินกันแล้ว ต่อจากนี้ไปเราเป็นผู้ใหญ่กั
อย่าสึก เราอยู่กันมายาวนา
คำภาวนา พุทโธ กับ สัมมา อะระหัง ขอย้ำว่า คำภาวนา ไม่เป็นอุปสรรคต่อก
พรรษามหาบูชาร่างกายเป็นรังแห่งโรค
พรรษาที่ ๓๒ ของหลวงพ่อปีนี้
แตกต่างจากที่ลูกพระลูกเณรได้เห็นกัน เพราะว่าไม่เคยมานั่งอยู่ใน
คู่ปรับของวัยหนุ่ม
ลูกทุกรูปยังอยู่ใน
“วัยหนุ่ม”
เป็นวัยที่แข็งแรง
ถ้าเอาชนะความกำหนัดยินดีในกามได้
อะไรก็เรื่องเล็ก
เราจะไ
ฝึกหยุดนิ่งเพื่อตัวเราเอง ให้ความสำคัญต่อการฝึกใจให้หยุดนิ่ง
ที่ศูนย์กลางกาย
จำพรรษาสองชั้นวันนี้
เราพร้อมใจกันอธิษฐานอยู่จำพรรษาที่วัดพระธรรมกาย
สำหรับลูกพระลูกเณรที่บวชมาก่อนหน้านี้แล้ว พรรษาปีนี้ขอให้ดียิ่งข
ง่ายตลอดเส้นทาง เราจะต้องจำไว้อย่างหนึ่งนะลูกนะ
เส้นทางสายกลางภายใ
สุขอย่างสมณะ
ผู้ที่เขาเข้าถึงจุดที่หยุดนิ่งจริง
ๆ
เขาจะสงบ
สะอาด สว่าง
อยากอยู่นิ่ง
ๆ ...
เพื่อจะศึกษาความรู้ภายในให้ยิ