“พรหมจรรย์” คือ
การครองชีวิตอันประเสริฐ ประพฤติแบบพรหม
ไม่ได้มีความหมายเพียงการละเว้นจากเมถุนธรรมอย่างเดียว แต่มีความหมายกว้างถึง ๑๐
อย่างด้วยกัน คือ
๑.
การทำทาน
๒.ไวยยาวัจจะ
๓.
การรักษาศีลห้า
๔. การแผ่เมตตาเป็นประจำทุกค่ำเช้า
๕.
การงดเว้นเมถุนธรรม คือไม่ยินดีในกาม
๖.
การยินดีเฉพาะในคู่ครองของตนเอง
๗.
การเป็นผู้มีความเพียรในการเจริญสมาธิภาวนา
๘.
การรักษาศีล ๘
๙.
การบำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ ๘
๑๐.
การปฏิบัติอยู่ในไตรสิกขาได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา
อธิบายขยายความว่า
๑. การทำทาน คือ การทำบุญด้วยทานวัตถุ เช่น ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ
ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นั่ง ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ
๒. ไวยยาวัจจะ คือ การขวนขวายในกิจกรรมที่เป็นบุญกุศล เช่น ปัด
กวาด เช็ด ถู จัดเตรียมสถานที่ฉัน ที่ฟังธรรม ที่ปฏิบัติธรรม อำนวยความสะดวกให้พิธีกรรมอันเป็นบุญ
กุศลดำเนินไปได้
๓. การรักษาศีลห้า คือ
เว้นจากการฆ่าคนและสัตว์ เว้นจากการลักทรัพย์ เว้นจาก
ประพฤติผิดในกาม เว้นจากพูดเท็จ และเว้นจากดื่มสุราเมรัย
๔. การแผ่เมตตาเป็นประจำทุกค่ำเช้า จนเป็นอัปปมัญญา คือ ใจนิ่ง
ขยาย มีเมตตา
แผ่ไปกว้างขวาง เกิดความรู้สึกเป็นมิตรต่อคนและสัตว์
หมดความรู้สึกเป็นศัตรูต่อใครทั้งหมด
๕. การงดเว้นเมถุนธรรม
ไม่ร่วมประเวณี ไม่มีเพศสัมพันธ์ เว้นขาดจากความยินดีใน
กามกิจ ข้อนี้เราจะรู้จักกันกว้างขวาง
๖.
การยินดีเฉพาะในคู่ครองของตนเองที่เรียกว่า สทารสันโดษ คือไม่นอกใจภรรยา
หรือสามีของตน นี่ก็ถือว่าเป็นพรหมจรรย์ชนิดหนึ่ง
ประพฤติแบบพรหม
๗.
การเป็นผู้มีความเพียรในการเจริญสมาธิภาวนา
๘. การรักษาศีล ๘
๙. การบำเพ็ญอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ดำเนินไปในหนทางสายกลาง
๑๐. การปฏิบัติอยู่ในไตรสิกขาได้แก่ ศีล
สมาธิ ปัญญา รวมความว่า การทำตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมด
คือการปฏิบัติอยู่ในไตรสิกขา ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา นี้จัดเป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น
กระทั่งการขจัดกิเลส
การประพฤติพรหมจรรย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำกิเลสอาสวะให้หมดสิ้น
จะได้สลัดตนพ้นจากกองทุกข์ ที่สุดแห่งพรหมจรรย์ คือประพฤติปฏิบัติ ๑๐ อย่างนี้แล้วไปถึงที่สุดก็คือ
หมดกิเลส
คุณครูไม่ใหญ่
วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2559