หน้าที่ของพระพี่เลี้ยง คือ เป็นพี่เลี้ยงน้องใหม่ ที่จะเข้ามาสู่ร่มเงาของพระพุทธศาสนา
น้องใหม่เหล่านี้ เมื่อเข้ามาบวชใหม่ ๆ ก็ยังทำอะไรไม่เป็น
ทั้งกิจวัตรกิจกรรมก็ดี เรื่องพระธรรมวินัยต่าง ๆ ก็ดี ยังเป็นผู้ใหม่อยู่ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพระพี่เลี้ยงจะต้องไปทำหน้าที่ของพี่
คอยประคับประคอง ให้คำแนะนำที่ดีแก่รุ่นน้อง
“แนะ” คือ ให้คำแนะนำสั่งสอน
อบรมข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ที่เราได้ฝึกตัวมาตลอดระยะเวลาว่า วิธีที่จะให้เป็นพระที่สมบูรณ์เขาทำกันอย่างไร
โดยเฉพาะน้องใหม่มีเวลาช่วงสั้นในการอบรม ควรจะได้เรียนรู้อะไรบ้าง ที่ลัดสั้นที่สุด
ที่ทำให้เป็นพระได้สมบูรณ์ราวกับบวชมาแล้วร้อยพรรษาอย่างนั้น
“นำ” คือ ทำให้ดู เป็นแบบอย่างที่ดี ข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ เราก็ทำให้เขาดู อะไรที่เขาเลียนแบบยังไม่สมบูรณ์ เราก็แนะเขา ประคับประคองกันไปอย่างนี้
รวมทั้งคอยเป็นพี่เลี้ยงเรื่องการปฏิบัติธรรมนอกรอบให้ด้วย
ในรอบก็มีพระอาจารย์ ท่านให้คำอบรมสั่งสอนอยู่แล้ว นอกรอบก็จะเป็นหน้าที่ของพระพี่เลี้ยงคอยชี้แนะ
แก้ไขในสิ่งที่น้องใหม่ยังไม่ค่อยเข้าใจ และคอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
คอยให้กำลังใจ เพราะบางทีน้องใหม่ไม่เคยเจอระบบระเบียบต่างๆ
หรือความเป็นอยู่แบบพระ ก็อาจจะอึดอัด ก็คอยให้กำลังใจ ประคับประคองกันไป
ให้ใช้วิธีแบบพี่กับน้อง อย่าไปใช้วิธีอื่น
เคยมีบางรุ่นเหมือนกัน
สมัยก่อนโน้น แต่ว่าหลัง ๆ นี้ไม่ค่อยเจอ เพราะหลวงพ่อปรับวิธีการใหม่ คือ ดูแลกันจนกระทั่งเคร่งเครียด
ไม่มีความสุข ซึ่งมันผิดวัตถุประสงค์
แต่รุ่นนี้ต้องการให้ประคับประคองกัน
ให้ทุกคนได้รับความสุขทุกขั้นตอน ตั้งแต่เป็นธรรมทายาท กระทั่งมาเป็นพระธรรมทายาท จนกระทั่งสิ้นสุดฤดูกาลอบรมธรรมทายาท ให้มีความสุขตลอดการอบรมเลย
เพราะฉะนั้น ในช่วงเวลาที่เหลืออยู่อีกเดือนเศษ
ๆ ก่อนการอบรม ความรู้เกี่ยวกับด้านทฤษฎี ถ้าหากว่ายังไม่คล่อง ก็คงต้องได้รับการอบรมจากหลวงพ่อทัตตชีโวเพิ่มเติม
ส่วนเรื่องการปฏิบัติธรรมก็จะต้องพยายามขวนขวายให้เข้าไปถึงจุดแห่งการเข้าถึงประสบการณ์ภายในให้ได้
หลวงพ่อธัมมชโย
๑ มีนาคม
พ.ศ ๒๕๓๙
วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562