บวชมาแล้วต้องมีวัตถุประสงค์เดียวเป็นหลัก
คือ ทำพระนิพพานให้แจ้ง
นอกนั้นเป็นเรื่องปลีกย่อยลงมา
นี่เป็นของเก่าดั้งเดิม
บวชมาเพื่อทำพระนิพพานให้แจ้ง
การบวชต้องมีวัตถุประสงค์อย่างนี้เท่านั้น
ถ้าไม่มีเป้าหมายอย่างนี้บวชเป็นพระยากนะลูกนะ
๓๒
พรรษาที่ผ่านไปของหลวงพ่อ รู้สึกประเดี๋ยวเดียว ยังมีความรู้สึกว่า งานที่แท้จริงยังไม่ได้เริ่มต้นเลย
ทั้งๆ ที่ทำมาเรื่อยๆ ไม่ขาดเลยแม้แต่วันเดียว มากบ้าง น้อยบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง
ยืนบ้าง เดินบ้างก็ทำมาตลอด
บวชแล้วต้องมีเป้าหมาย
เมื่อมีเป้าหมายแล้ว ข้อวัตรปฏิบัติมันจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
เพราะรักที่จะไปถึงตรงนั้น อยากจะถึงพระรัตนตรัย ถึงพระธรรมกาย
อยากไปศึกษาวิชชาธรรมกาย
ความกระตือรือร้นจะเกิดขึ้นเอง
และสอนตัวเองได้ เมื่อเรามีเป้าหมาย จะรักการปฏิบัติธรรม พอปฏิบัติธรรม มันมีความสุข
ถ้าไม่มีความสุขมันนั่งนานๆ ไม่ได้หรอก
แต่ความสุขที่เกิดจากธรรมปฏิบัติ
ไม่ใช่จู่ๆ เกิดขึ้น ก็ต้องเริ่มต้นจากความไม่สุขไม่ทุกข์เสียก่อน ต้องฝึกฝน
ต้องพากเพียร ต้องอดทน ต้องทำสม่ำเสมอ และหมั่นสังเกตดูว่า เราทำอย่างไรถึงจะวางใจได้ถูกต้อง
ถูกวิธีการ แล้วความสุขจากการปฏิบัติถึงจะเกิดขึ้น เป็นกำลังใจสำหรับวันต่อวัน
มาอยู่วัดพระธรรมกายแล้ว อย่าให้มีแต่ชื่อวัดพระธรรมกายเท่านั้น
แต่พระในวัดพระธรรมกายต้องเข้าถึงธรรมกาย
นี่คือวัตถุประสงค์ของการสร้างวัดมาตั้งแต่ต้น ที่ว่าสร้างวัดให้เป็นวัด
สร้างพระให้เป็นพระ สร้างคนดีที่โลกต้องการ
หลวงพ่อว่า
ลูกทุกคนมีบารมีไม่ใช่อ่อนๆ บารมีแก่ๆ กันทั้งนั้น ถ้าบารมีอ่อนๆ มาไม่ถึง
มาอยู่รวมกันไม่ได้หรอก มันต้องมีบารมีไล่ๆ กัน เหมือนฝูงนกเข้าฝูงนก
ฝูงเนื้อเข้าฝูงเนื้อ ฝูงปลาก็อยู่ในหมู่ปลา ธรรมกายก็ต้องอยู่ในหมู่ธรรมกาย
อยู่บ้านไม่ได้ มันมีความรู้สึกว่า ไม่ใช่ที่อยู่ของเรา
อยู่วัดอื่นก็รู้สึกไม่ค่อยได้ เพราะว่าไม่มีธรรมกาย นอกจากวัดสาขาที่ขยายงานออกไปเท่านั้น
เพราะฉะนั้น
บารมีของลูกทุกรูป หลวงพ่อกล้ายืนยันได้ว่า เรื่องบารมีเรามีมากพอที่จะเข้าถึงวิชชาธรรมกาย
ถ้าให้โอกาสกับตัวเองปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
ให้ถูกวิธี นั่งไปเรื่อยๆ จะต้องเข้าถึงอย่างแน่นอนสักวันหนึ่ง ขอให้นั่งเถอะ
ใหม่ๆ
มันก็ฟุ้งๆ ก่อน มีภาพโน่น ภาพนี่ เสียงโน่น เสียงนี่ เกิดขึ้นในใจ
บางทีมาทางเสียง ไม่เห็นภาพ เราก็ใช้ สัมมาอะระหัง สู้ไป บางทีมันมาทางภาพ
ไม่มีเสียง เราก็นึกองค์พระไป นึกดวงแก้วไป นึกถึงหลวงปู่วัดปากน้ำไป
ถ้ามันมาทั้งภาพ ทั้งเสียง เราก็นึกภาพไปด้วย ภาวนา สัมมาอะระหัง ไปด้วย
ก็ฝึกฝนกันไปอย่างนี้
ทำไปทุกๆ
วัน ทำให้สม่ำเสมอ ไม่ว่าเราจะมีภารกิจอื่นใดที่หมู่คณะมอบหมายให้
จะเป็นพระนักศึกษา เป็นพระดูแลงานโยธา เป็นพระอาจารย์ เป็นพระนักเรียนบาลี หรือจะอยู่ตำแหน่งไหนก็ตาม
ภารกิจเหล่านี้เป็นบุญทั้งนั้น เป็นเครื่องเสริม เป็นบารมีที่เสริมในการนั่งด้วยซ้ำ
แทนที่จะเป็นอุปสรรคตามที่เข้าใจผิด
สมมติว่า
ทำงานหนัก เพลียบ้าง ก็ให้นั่งไปเถอะ เดี๋ยวมันหายเพลีย ถ้าหลับก็ปล่อยมัน
ง่วงก็หลับ เมื่อยก็ขยับ ฟุ้งก็ลืมตา แล้วก็ว่ากันใหม่ ฝึกฝนอบรมกันไปอย่างนี้ทุกๆ
วัน สักวันหนึ่งเราจะได้รางวัลของชีวิต คือการเข้าถึงพระธรรมกาย การบวชของเราในคราวนี้ก็จะสมปรารถนา
เป็นการบวชที่ได้บุญ ได้กุศล ได้ธรรมะ ได้ที่พึ่งภายใน
โยมพ่อ
โยมแม่ พี่น้อง หมู่ญาติ มีชีวิตอยู่ หรือละโลกไปแล้วก็มีส่วนแห่งบุญ
แถมเป็นที่รักของเทวดาด้วย เทวดาชอบพระแท้ พระที่เข้าถึงพระในตัว จะคอยตามอนุรักษ์ดูแล
แล้วจะมีสิ่งที่เป็นอจินไตยเหนือธรรมชาติเกิดขึ้นให้เราได้เห็นอยู่ตลอดเวลาด้วยเทวานุภาพ
เพราะเทวดารักเรา รักพระที่เข้าถึงพระ และที่สำคัญ คือ เข้าถึงแล้วมีความสุข และเป็นที่พึ่งแก่เราได้
๗ ตุลาคม พ.ศ.
๒๕๔๔
โอวาทวันกรานกฐิน (บางส่วน)
ณ อุโบสถ วัดพระธรรมกาย
วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565
Related Posts
การขอขมาลาบวช การขอขมาลาโทษก่อนอุปสมบทเป็นสิ่งจำเป็น
เพราะชีวิตในสังสารวัฏ เราต่างเคยเกิดเป็นอะไรต่
อาชีพพระ ครั้งหนึ่ง
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องปฏิจจสมุ
คำภาวนา พุทโธ กับ สัมมา อะระหัง ขอย้ำว่า คำภาวนา ไม่เป็นอุปสรรคต่อก
อย่ามีข้อแม้ ข้ออ้าง เงื่อนไข
พยายามเพิ่มชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลาง เอาไว้ให้มาก ๆ ประสบการณ์ภายในก็จะดียิ่งขึ้นไปเรื่อย
ๆอย่ามี
ข้อ
ทำไมต้องฝึกใจให้หยุดนิ่ง
เราฝึกใจให้หยุดนิ่งเพื่อความสุข และความปลอดภัยในชีวิตของเรา สุขทั้งในปัจจุบัน และเป็นความปลอดภัยของชีวิต
เมื่อใจหยุด
ความโชคดีอย่างสูงสุดความโชคดีอย่างสูงสุด
หนังสือผ้าสีสุดท้าย
วันศุกร์ที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙
พรรษามหาบูชาร่างกายเป็นรังแห่งโรค
พรรษาที่ ๓๒ ของหลวงพ่อปีนี้
แตกต่างจากที่ลูกพระลูกเณรได้เห็นกัน เพราะว่าไม่เคยมานั่งอยู่ใน
พระเป็น
ในช่วงที่แข็งแรง ตั้งใจฝึกตัวของเราให้ดีนะ
ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระภายในให้ได้ แม้ภายนอกเราจะบวชแบบธรรมทายาทชาย
การศึกษาของพระเณร นักบวชต้องเรียนเรื่องศีล
สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสนะ
การบูชาอันสูงสุด การปฏิบัติธรรม เรียกว่า ปฏิบัติบูชา
เป็นการบูชาอันสูงสุดแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระ