การนึกนิมิต ขอให้เรานึกง่ายๆ
เหมือนกับเรานึกภาพโบสถ์ ภาพดอกไม้ หรือภาพคนที่เรารัก ให้นึกดวงแก้วเหมือนกับมันเป็นวัตถุธรรมดา
มิใช่สิ่งพิเศษ
หลวงพ่อให้นึกถึงดวงแก้ว มิใช่ให้นึกเรื่องราวของดวงแก้วว่า
มันใสไหม อยู่ตรงไหน ฯลฯ มันเสียเวลาของเราและของชาวโลกด้วย เวลานั่งสมาธิ
ให้คิดว่าดวงแก้วเป็นสมบัติของเรา อย่ากลัวหาย มันมีอยู่แล้ว
ถ้าเราเร่งให้ชัดเท่ากับไปยึดใจของเรามิให้หยุด มิให้นิ่ง ให้ดูเฉยๆ ดูเพลินๆ มันยังสว่างน้อยก็ให้ดูไปอย่างนั้น
เพราะมันมีอยู่เท่านั้น
การดูเฉยๆ ดูไปเรื่อยๆ
เป็นการเร่งที่ดีที่สุด ใจของเราจะละเอียดอ่อน ขณะที่เราดูมันอยู่ ในที่สุดใจของเราละเอียดเท่ากับศูนย์กลางกาย
และจะดึงดูดเข้าหาซึ่งกันและกัน
ศูนย์กลางกายมีลักษณะเป็นสูญญากาศว่าง
โล่งตลอดจนถึงธรรมกาย ไม่มีอะไรขวางกั้น จากกรุงเทพมาเชียงใหม่ยังมีภูเขากั้น
การเข้าศูนย์กลางกายเหมือนกับการสนเข็ม
ตั้งใจมากเกินไปก็ไม่เข้า หย่อนไปก็ไม่เข้า ต้องพอดีๆ
ถ้าเราเร่งใจของเรา ก็เท่ากับเราเลื่อนความสำเร็จออกไป
เนื่องจากดวงปฐมมรรคละเอียดอ่อน เราต้องทำใจให้ใสละเอียดอ่อนเท่านั้น และความละเอียดอ่อนจะดึงดูดให้เข้าหากันและกัน
การปฏิบัติธรรมให้ได้ผล
ใจต้องไม่นึกคิดอะไรเลย เอาสติรักษาใจ พอตะกอนตก ใจก็จะเริ่มบริสุทธิ์ อันที่จริงใจของเราน้อมไปสู่ความใส
ความสว่างอยู่แล้ว
เราไม่สมหวังครั้งนี้ไม่เป็นไร
หลวงพ่อจะหอบขึ้นมาอีก ไม่ถึงธรรมกายหลวงพ่อไม่ยอมเด็ดขาด
พวกเราเป็นผู้ที่มีบุญมาก คือ
๑.
ได้เกิดเป็นมนุษย์
๒.
ได้เกิดในปฏิรูปเทศ
๓.
มีความศรัทธา
๔.
ได้ฟังเรื่องธรรมกาย
๕.
มีศรัทธาปฏิบัติ
๖.
ได้ปฏิบัติร่วมกับหลวงพ่อ
ชาวโลกมี ๕,๐๐๐ ล้านคน
คัดมาเหลือเราเท่านี้ แต่การนั่งของเราจะต้องปรับวิธีการ อย่าตั้งใจมากเกินไป
มิฉะนั้นจะสูญเสียความเป็นกลางอันละเอียดอ่อน
ผู้ที่เห็นดวงแก้วแบบเดี๋ยวเห็นเดี๋ยวหาย
เปรียบเสมือนคนที่เดินทางมาถึงดอยสุเทพแล้วเพียงแต่เลี้ยวขวาก็จะถึงที่หมายคือดอยสุเทพ
ขอให้พยายามต่อไป
การเห็นดวงแก้ว อย่านึกคิดไปว่า เอ เรานึกไปเองหรือเปล่าหนอ
ก็มันนึกคิดอยู่แล้วจริงๆ พอไปคิดอย่างนั้นเข้า ใจก็เคลื่อน
ก่อนที่จะก้าวไปหาของจริงก็ต้องมาจากการนึกของเราก่อน เพราะฉะนั้นอย่าไปสงสัย ใจจะหยาบ
พรก่อนนอน
หลวงพ่อขอให้ทุกคนนอนหลับเป็นสุข
ก่อนนอนขอให้เราเอาใจแตะแผ่วๆ ไว้ที่ศูนย์กลายกายเรื่อยไปจนหลับ เวลาตื่นสิ่งแรกที่เราควรนึกถึงก่อนอื่น
คือ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ใจจะได้คุ้นเคยกับศูนย์กลายกายเวลาจะกำหนดนิมิตก็ทำได้ง่าย
ทบทวนโอวาทหลวงพ่อธัมมชโย
ปฏิบัติธรรมบนดอยสุเทพ-ปุย
ระหว่างวันที่ ๓-๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2565
Related Posts
เธอคือลมหายใจของพระศาสนา
หลวงพ่อแม้ภารกิจมาก
แต่ก็เจียดเวลาในการปฏิบัติธรรม
ไม่ขาดเลยแม้แ
อย่าเอาสังขารไปถล่มทลาย
กายมนุษย์นี่สำคัญมาก เราจึงต้องสงวนเวลาเอาไว้
สงวนสังขารเอาไว้ อย่าเอาไปถล่มทลาย ปกติมันก็มีโรคภ
การปฏิบัติธรรมจำเป็นสำหรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย
ถ้าเราปฏิบัติธรรมเข้าถึงดวงธรรมหรือองค์พระได้นะลูกนะ
ชีวิตจึงจะปลอดภัย ภัยในอบาย ภัยในวัฏสงสาร&
ค้นหาตัวเองให้เจอ
หลวงพ่ออยากให้มีบรรยากาศเหมือนสมัยพุทธกาล
ที่ทุกรูปตั้งใจประพฤติปฏิบัติธรรมกันอย่างเต็มที่
คิดแบบพระ พ
นึกนิมิตและคำภาวนานึกนิมิตและคำภาวนา
คำไม่เล็กของคุณครูไม่ใหญ่มินิ 5 (ศิลปะแห่งสมาธิ)
การปฏิบัติธรรมในแต่ละวันไม่เหมือนกัน
บา
“จริง” ต้องได้
ออกพรรษาแล้วมีเวลาว่าง ๘ เดือน มากกว่าอยู่ในพรรษาเสียอีก เราก็จะต้องทำความเพียรกันต่อไป อย่าทำความเพียร
ถ้าเอาจริงต้องได้ทุกคน
หยุดกับนิ่ง ขึ้นอยู่กับขยันหรือขี้เกียจ
ถ้าขยันฝึกบ่อย ๆ มีชั่วโมงหยุด ชั่วโมงนิ่ง ชั่วโมงกลาง มันก็ชัดเจน จา
หยุดเป็นตัวสำเร็จ
ถ้าจะช่วยหลวงพ่อให้มีปีติเบิกบาน
จงช่วยกันทำให้เข้าถึงสรณะภายในให้ได้
ไม่ถึง..เป็นไม่ยอมกันให้รู้จัก “หยุดเป็นต
นอกรอบให้หมั่นประคองใจ
วัตถุประสงค์ของหลวงพ่อ ต้องการให้ทุกรูปเข้าถึงพระธรรมกาย
ดังนั้นให้ร่วมมือกับหลวงพ่อ โดยพยายามหมั่นตรึกนึกคิดที่ศูน
กฎของการเข้าถึงธรรม
ใจละเอียดเท่านั้น
จึงจะไปถึงสิ่งที่ละเอียดได้ถ้าใจไม่ละเอียด...มันเข้าไม่ถึง
เพราะฉะนั้น ว