ตรึกให้ได้ตลอดเวลานะลูกนะ
อิริยาบถทั้งสี่นี้เรื่อยไป
ทำเหมือนว่าไม่มีหัวและดวงตา
ค่อยค่อยหยุดค่อยค่อยนิ่งค่อยค่อยมอง
เดี๋ยวจะร้องก้องฟ้า สุขจังเล้ย
ประโยชน์ของสมาธิ
ง่าย..แต่..ลึก 1
(เมื่อเราได้สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยกันเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ต่อจากนี้ไปตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากันนะ............)
...ตั้งใจหลับตาเจริญสมาธิภาวนากันนะ หลับตาเบา ๆ พอ
สบาย ๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายของเรา ทั้งเนื้อ
ทั้งตัวให้รู้สึกสบาย ปรับท่านั่งให้ถูกส่วน ขยับเนื้อขยับตัวของเราให้
ดีนะ แล้วก็ทำใจของเราให้เบิกบานแช่มชื่น ให้สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส
ไร้กังวลในทุกสิ่ง ให้ปลดปล่อยวาง คลายความผูกพันจากคนสัตว์
สิ่งของ แล้วก็รวมใจไปหยุดนิ่ง ๆ นุ่ม ๆ ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
อย่างเบาสบาย แล้วก็ผ่อนคลาย
ให้นึกถึงบุญทุกบุญที่เราทำผ่านมานับภพนับชาติไม่ถ้วน
จนกระทั่งถึงปัจจุบันชาติ รวมทุก ๆ บุญ บุญเล็ก บุญน้อย บุญปานกลางบุญใหญ่ บุญทุกชนิด ทั้งสาธารณกุศลสงเคราะห์โลก สร้างโบสถ์ วิหารศาลาการเปรียญ ทอดกฐิน ผ้าป่า ปล่อยสัตว์ปล่อยปลา เป็นต้น
รวมมาเป็นดวงบุญใส ๆ กลมรอบตัวเหมือนดวงแก้ว ใสบริสุทธิ์
ประดุจเพชรลูกที่เจียระไนแล้ว ไม่มีตำหนิเลย สว่างเหมือนดวงอาทิตย์ยามเที่ยงวัน แต่ว่าใสเย็นเหมือนแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญ ให้นึกเบา ๆ อย่างสบาย ๆ นึกด้วยความปลื้มปีติว่า วันเวลาที่ผ่านมา
เราได้สั่งสมบุญบารมีของเราเอาไว้ ติดอยู่ในศูนย์กลางกายฐานที่ ๗
เป็นบ่อเกิดแห่งความสุขและความสำเร็จในชีวิตของเราทั้งในมนุษย์
และในเทวโลก
ให้เรานึกอย่างนุ่ม ๆ นิ่ง ๆ เบา ๆ สบาย ๆ อย่าไปเค้นภาพ
อย่าไปเน้น ให้นึกอย่างนุ่มนวล แล้วก็ผ่อนคลาย ทำใจให้ใส ๆ
เย็น ๆ เกิดเราเผลอไปเน้นภาพ เราก็เผยอเปลือกตาขึ้นมานิดหนึ่ง
เหมือนเราปรือ ๆ ตา แล้วก็เริ่มต้นใหม่อย่างง่าย ๆ โดยไม่เสียดาย
สิ่งที่เราได้เคยเห็นมาก่อน และก็เริ่มต้นใหม่ ค่อย ๆ นึก นิ่ง ๆ นุ่ม ๆ
เบา ๆ สบาย ๆ
เมื่อเราทำซ้ำ ๆ บ่อย ๆ ทุกวันทุกคืน นาน ๆ เข้าก็จะเกิด
สภาวะจิตที่บริสุทธิ์ จิตจะบริสุทธิ์จากสิ่งเศร้าหมองทั้งหลาย จนเห็น
ความบริสุทธิ์ภายในได้ เป็นดวงใส ๆ ที่มาพร้อมกับความสุข สุขที่ไม่มี
ประมาณ ความสุขนั้นก็จะขยายสู่ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทำให้
เราสุขกายสุขใจ แล้วก็ขยายออกไปสู่สิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดกระแสแห่งความสุขที่มีอานุภาพ มีพลัง ที่ทำให้ใครได้เห็นเรา ได้เข้าใกล้เราก็จะพลอยมีความสุขตามไปด้วย
จะประคองใจให้หยุดนิ่งด้วยบริกรรมภาวนาว่า สัมมา อะระหัง
ไปด้วยก็ได้ ให้เสียงดังออกมาจากกลางท้องของเรา เหมือนมา
จากแหล่งแห่งความสุข ความบริสุทธิ์ แหล่งแห่งอานุภาพอันไม่มี
ประมาณ มาขจัดสิ่งที่เป็นบาปอกุศลให้หมดสิ้นไป เหลือแต่ใจ
ที่ใส ๆ เย็น ๆ เราจะประคองใจด้วยบริกรรมภาวนาอย่างนั้นไปด้วย
ก็ได้ จนกว่าใจไม่อยากจะภาวนาต่อไป
คำภาวนาจะใช้ประคองใจเท่านั้น เมื่อเราหมดความจำเป็น
พอเราสามารถทิ้งทุกอย่าง ปล่อยวางทุกสิ่งนิ่งอย่างเดียวได้ เราก็ไม่
ต้องประคองใจด้วยบริกรรมภาวนา สัมมา อะระหัง อีก แต่ว่าเมื่อใด
ใจเราฟุ้งไปคิดเรื่องอื่น เราจึงค่อยย้อนกลับมาภาวนา สัมมา อะระหัง
ใหม่ ก็ประคับประคองใจกันไปอย่างนี้
ส่วนใครที่คุ้นเคยกับภาพองค์พระ ก็จะนึกภาพองค์พระแก้ว
ใส ๆ แทนก็ได้ แต่วิธีการนึกต้องแบบเดียวกัน อย่าเน้น อย่าเค้นภาพ
อย่าเพ่ง อย่าจ้อง ให้นึกเบา ๆ สบาย ๆ ต้องผ่อนคลาย เพราะว่า
เส้นทางสายกลางภายในนั้น ต้องผ่อนคลาย เป็นเส้นทางแห่ง
ความสุข จะไม่มีอาการตึงเครียดหรือทุกข์เลย มีแต่สุขที่เพิ่มขึ้น
เมื่อเราทำบ่อย ๆ ก็จะค่อย ๆ ชำนาญ ภาพก็จะปรากฏชัดใสแจ่ม
กระจ่างกลางกาย เป็นดวงใส ๆ องค์พระใส ๆ
เมื่อเราทำบ่อย ๆ ก็คุ้นเคย ใจก็จะแล่นเข้าไปสู่ภายในกลาง
ของทุกสิ่งที่เราเห็น ถ้าเห็นดวง ใจก็จะมุ่งเข้ากลางดวง ถ้าเห็นกาย
ภายใน ใจก็จะมุ่งเข้าไปสู่กายภายใน เห็นองค์พระ ใจก็จะมุ่งไปสู่
กลางองค์พระที่ใส ๆ เป็นแนวดิ่งลงไป ที่ขยายออกไปทุกทิศทุกทาง
แต่ว่าอย่าไปเน้น อย่าไปกำกับ อย่าไปคิดนำ อย่ากลัวช้า ใจใส ๆ
เดี๋ยวจะเคลื่อนเข้าไปเอง แล่นเข้าไปเอง ถ้าถูกส่วนแล้วจะขยาย
สุขจะเพิ่มขึ้น แม้เห็นชัดเท่าลืมตาเห็นแล้ว หรือยิ่งกว่าลืมตาเห็น
ก็ตาม ก็ยังต้องใช้วิธีการเดิมที่ถูกต้อง คือนิ่งอย่างเดียว อย่างนุ่ม ๆ
สบาย ๆ สุขจะเพิ่มขึ้น ภาพก็จะเพิ่มขึ้น ความบริสุทธิ์จะเพิ่มขึ้น
แต่ถ้าหากเราไปเน้น ไปลุ้น ไปเร่ง เพ่งหรือจ้องโดยไม่รู้ตัว
เราจะสังเกตได้ว่าภาพภายในมันจะชะลอช้าลง ปริมาณแห่งความ
สุขก็จะลดลง ลดลงในระดับที่เราไม่ชอบ แล้วถ้าเราจะฝืนดันต่อ
ไปอีก สุขก็ยิ่งลดลงไปอีก เพราะทำผิดวิธี ทั้ง ๆ ที่เราทำถูกมาใน
ระดับหนึ่งแล้วนี่สำคัญนะลูกนะ เวลาไปอยู่ที่บ้านเราไปนั่งส่วนตัว
ตามลำพัง ต้องจำวิธีการนี้เอาไว้ให้ดีนะ
ปีนี้เราจะต้องปฏิบัติธรรมให้ดีกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากวัน
เวลาที่เหลืออยู่ข้างหน้านี้สั้นลงไปทุกวัน มรณภัยจะมาถึงเราเมื่อไร
ก็ไม่ทราบ เราจะพลัดพรากจากกายหยาบนี้ ในโลกใบนี้เมื่อไร
ก็ไม่ทราบ เพราะฉะนั้นดีที่สุดก็คือ ฝึกใจให้หยุดนิ่งอย่างถูกหลัก
วิชชาให้มีสติ สบาย และสม่ำเสมอ
แล้วก็หมั่นสังเกตว่าเราทำอย่างไรใจถึงแล่นเข้าไป
สู่ภายในเรื่อย ๆ ทำอย่างไรใจถึงถอนออกมา แล้วเราก็
ค่อย ๆ ปรับปรุงวิธีการให้ถูกหลักวิชชา ประกอบความ
เพียรให้กลั่นกล้า ถ้าทำได้อย่างนี้ เป็นบรรพชิตก็จะบวช
อยู่อย่างมีความสุข มีปีติสุขหล่อเลี้ยงใจไปทุกวันทุกคืน
ไม่มีอะไรเหนี่ยวรั้งใจเราได้เลย
ถ้าเป็นคฤหัสถ์ก็จะมีปีติสุขหล่อเลี้ยงใจเช่นกัน
แม้ว่าจะต้องทำมาหากิน ทำมาค้าขาย ทำมาสร้าง
บารมี จะมีปัญหาแรงกดดันอะไรมา หนักก็จะเป็นเบา
เบาก็จะหาย ร้ายก็จะกลายเป็นดี ดีอยู่แล้วก็ดีเพิ่มขึ้น
เป็นดีเลิศ เพราะฉะนั้นต้องหมั่นฝึกฝนไปเรื่อย ๆ นะ
ลูกนะ หมั่นฝึกหยุดฝึกนิ่ง นุ่ม ๆ ให้ใส ๆ อย่าให้ขาด
เลยแม้แต่เพียงวันเดียว
ถ้าเราทำได้คล่อง ได้ชำนาญแล้ว บ่อย ๆ ซ้ำ ๆ จนชำนาญ ต่อไป
เราก็จะได้ค่อย ๆ ศึกษาเรียนรู้วิชชาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ได้ ให้หายสงสัยด้วยตัวของเราเอง เพราะยังมีสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ
ตัวเราที่ยังเป็นความลับของเราอยู่ เราจะต้องทำให้สิ่งเหล่านี้ไม่เป็น
ความลับของเราอีกต่อไป
โดยเฉพาะอย่างน้อยต้องให้รู้จักว่า ความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่
ภายในตัวของเรานี่เอง ภายในมีแสงสว่างส่องทางชีวิตที่เห็นได้
เข้าถึงได้ และมีความแตกต่างจากแสงภายนอก และแสงสว่างที่
ส่องทางชีวิตนี้ทำให้เราเห็นชีวิตอีกหลายระดับ ที่แต่ก่อนเป็นความลับของเราก็จะถูกเปิดเผย
เมื่อเราได้เห็นชีวิตของกายมนุษย์ละเอียด ที่แตกต่างจากชีวิต
ของกายมนุษย์หยาบ
เห็นชีวิตของกายทิพย์ ที่แตกต่างจากชีวิตของกายมนุษย์ละเอียด
เห็นชีวิตของกายรูปพรหม ที่แตกต่างจากกายทิพย์
เห็นชีวิตของกายอรูปพรหม ที่แตกต่างจากชีวิตของกายรูปพรหม
เห็นชีวิตของพระธรรมกายที่แตกต่างกว่าทุก ๆ ชีวิตที่ผ่านมา
จะแจ่มแจ้งหายสงสัยด้วยตัวของเราเอง รู้จักเนื้อหนังแท้ ๆ
ของพระรัตนตรัยคืออะไร ไม่ใช่ได้ยินแค่ชื่อ แต่เข้าถึงได้และเห็นได้
เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับท่านได้
เราจะรู้จักคำว่า “พุทธรัตนะ”
ทำไมเอาคำว่า “พุทธะ” มาเกี่ยวกับคำว่า “รัตนะ” เราจะ
หายสงสัย แล้วก็แจ่มแจ้งขึ้นที่ว่า “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” แล้ว ที่เป็น
รัตนะจริง ๆ ไม่ใช่แค่คำอุปมานั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร ชีวิตที่เป็น
แก้วที่ใสกว่ารัตนะใด ๆ ในโลกมนุษย์ หรือในโลกอื่น หรือในเทวโลก
มีลักษณะอย่างไร
ทำไมถึงได้ชื่อว่า “เป็นที่พึ่งที่ระลึกอันสูงสุดของเรา”
ทำไมถึงได้ชื่อว่า “เป็นสรณะ”
เมื่อเข้าถึงแล้วเราก็จะแจ่มแจ้ง เมื่อแจ่มแจ้งก็หายสงสัย
พอหายสงสัยก็เกิดปีติสุข เบิกบาน อาจหาญ ร่าเริง อยากจะ
ทำความเห็นให้ถูกต้องเพิ่มขึ้น ความเห็นถูกก็จะยิ่งเกิดขึ้น เมื่อใจเรา
เข้าถึงพุทธรัตนะ ถึงธรรมรัตนะ และก็ถึงสังฆรัตนะ
รู้จักว่าทำไมเรียกว่า “พุทธรัตนะ”
ทำไมลักษณะอย่างนี้จึงเรียกว่า “ธรรมรัตนะ”
ลักษณะอย่างนี้ทำไมถึงเรียกว่า “สังฆรัตนะ”
จะไปเข้าถึงเนื้อแท้จริง ๆ เลย ทั้งสามอย่างนี้อยู่รวมกัน แยก
ออกจากกันไม่ได้ แต่ทำหน้าที่กันคนละอย่าง เหมือนดวงตา หู จมูก
ปาก ที่ติดอยู่บนใบหน้าของเรา แต่ทำหน้าที่กันคนละอย่าง เรียกชื่อ
กันคนละอย่าง แต่อยู่รวมกัน รัตนะทั้งสามนี้ก็เช่นเดียวกัน
เราจะเป็นชาวพุทธที่สมบูรณ์ได้ ต่อเมื่อเราเข้าถึงรัตนะทั้ง
สามดังกล่าวนี้ที่มีอยู่ภายในตัวของเรา ซึ่งถูกเปิดเผยด้วยตัวของ
เราเอง เมื่อใจของเราหยุดนิ่งนุ่มเบาสบายในตำแหน่งที่ตั้งของ
พระรัตนตรัย
เราจะรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย ปลื้มปีติและภาคภูมิใจว่า เรามีบุญ
มากที่ได้เกิดมาเป็นชาวพุทธ จะซาบซึ้งกว่าที่เคยเป็น และจะซาบซึ้ง
ไปถึงคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่กระตุ้นให้เราอยากเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสิ่งที่เป็นจริงและมีประโยชน์ ทั้งประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในอนาคต แล้วก็ประโยชน์อย่างยิ่งที่เต็มเปี่ยมบริบูรณ์
เราจะรู้เรื่องราวความเป็นจริงของชีวิตด้วยตัวของเราเอง
หายสงสัยด้วยตัวของเราเอง อยู่เป็นสุขด้วยตัวของเราเองแม้อยู่
ตามลำพังก็ตาม อยู่โคนไม้ก็เป็นสุข อยู่ในป่าในเขาก็เป็นสุข อยู่ในที่
ทุรกันดารก็เป็นสุข เพราะใจเราไม่เกิดความทุรกันดาร มีสุขอยู่ภายใน
อิริยาบถทั้ง ๔ นั่งก็เป็นสุข ยืนเป็นสุข เดินเป็นสุข นอนเป็นสุข ใช้
อิริยาบถทั้ง ๔ ได้สมบูรณ์อย่างเป็นสุข
จะเข้าใจคำว่า “อยู่เย็นเป็นสุข” มากยิ่งขึ้นว่าอยู่ที่ตรงไหนมัน
ถึงเย็นแล้วก็เป็นสุข แล้วเอาอะไรไปอยู่ตรงนั้น ซึ่งเมื่อเราหยุดนิ่งที่
ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนั้นแล้ว เราก็จะรู้จักว่าอยู่เย็นเป็นสุข
เขาอยู่กันตรงนี้นะ ใจก็จะใส ๆ เบิกบานอยู่ตลอดเวลา เป็นผู้รู้แล้ว
รู้เรื่องความเป็นจริงเกี่ยวกับตัวของเราเอง รู้จักตัวเราเองแล้ว ตื่นจาก
โลกมายาไปสู่โลกแห่งความเป็นจริงแล้ว ที่มีแต่เรื่องจริงล้วน ๆ ที่อยู่
ภายใน ใจก็เบิกบาน ชุ่มชื่น เป็นสุขอยู่ตลอดเวลาเลย
เป้าหมายหลักใหญ่จริง ๆ ของการเกิดมาเป็นมนุษย์
ของทุกชีวิตก็เพื่อปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ภายใน นี่คือชีวิตที่แท้จริงของเรา ส่วนการทำมาหากิน
แค่เป็นชีวิตในระดับผิวเผิน ไม่ใช่เป้าหมายหลัก
ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกที่เราพบปะเจอะเจอในปัจจุบัน ไม่ใช่
สรณะ ไม่ใช่ที่พึ่งที่ระลึก เป็นแค่เครื่องอาศัยชั่วครั้งชั่วคราว ไม่ใช่
ของจีรังยั่งยืนอะไร เราจึงไม่ควรไปยึดมั่นถือมั่น หรือไปผูกพัน
อะไรมากมายนัก กะแค่พอดี ๆ เพียงแค่เราอิ่มปากอิ่มท้อง ให้เรา
มีชีวิตอยู่เพื่อการปฏิบัติธรรมและการสร้างบารมีเท่านั้นเอง เพราะ
ฉะนั้นเราต้องปลดปล่อยวางภารกิจเครื่องกังวลทั้งหลายในโลกนี้ออก
ให้หมด
ถ้าหากเราไม่เข้าถึงพระธรรมกาย ชีวิตของเรายังไม่ปลอดภัย
ยังว้าเหว่ ยังหงอยเหงาอยู่ เหมือนคนว่ายน้ำอยู่ในกลางท้องทะเล
มหาสมุทร จะต้องพบปะเจอะเจอภยันตรายนานาชนิด ตั้งแต่
ประโยชน์ของสมาธิ
สัตว์ร้าย คลื่นลม ตลอดจนกระทั่งหมดแรงจมน้ำตายอย่างนั้น เมื่อไร
เราขึ้นเกาะได้เราจึงจะปลอดภัย
ในทะเลของชีวิตก็เช่นเดียวกัน มีเกาะแห่งธรรมซึ่งเป็นที่พึ่ง
และที่ระลึก พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ธมฺมทีปา ธมฺมสฺสรณา นาญฺญสฺสรณา
มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง สิ่งอื่นไม่ใช่
นี่พระพุทธเจ้าท่านยืนยันอย่างนี้
เพราะฉะนั้นในทะเลชีวิตที่เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏฏสงสาร
ถ้ายังขึ้นเกาะไม่ได้ก็มีความสะดุ้งหวาดเสียว มีแต่ความทุกข์
ทรมานอยู่ตลอดเวลา ถ้าขึ้นเกาะได้แล้วชีวิตนี้ก็จะเปี่ยมไปด้วย
ความสุข ความสุขที่เป็นอมตะ เป็นความสุขที่แท้จริง
เพราะฉะนั้น ธมฺมทีปา ธมฺมสฺสรณา มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรม
ที่เป็นที่พึ่ง นาญฺญสฺสรณา สิ่งอื่นไม่ใช่ นี่ก็เป็นเครื่องยืนยันว่า
เราจะต้องพยายามปฏิบัติให้เข้าถึงพระธรรมกายให้ได้
ถ้าหากเราเข้าใจอย่างนี้แล้ว เราจะได้ดำเนินชีวิตของเราต่อไป
เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ไม่ว่าเราจะนั่งนอนยืนเดิน หรือจะทำอะไร
ก็แล้วแต่ เราต้องเอาใจหยุดไปที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ให้ใจมันคุ้น
ให้ใจมันเชื่องอยู่กับบริเวณนี้ เพราะเราทราบดีแล้วว่า พระธรรมกาย
อยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว ทำไมเราถึงจะ
ต้องเอาใจไปจรดไว้ที่อื่นล่ะ ก็ควรจะเอาใจมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย
ฐานที่ ๗ อย่างนี้อย่างเดียว ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต
เพราะเรารู้ว่า เกิดมาทำไม อะไรคือเป้าหมายชีวิต เมื่อรู้แล้วก็จะ
เอาใจหยุดนิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ ตรงนี้แหละ ตรึกหยุดนิ่ง
จนกระทั่งถูกส่วน ถูกส่วนก็เห็นดวงใสสะอาดบริสุทธิ์เกิดขึ้นมา
ที่ศูนย์กลางกายตรงนี้ ให้เข้าใจกันอย่างนี้นะ ต่อจากนี้ต่างคนต่าง
ทำกันไปเงียบ ๆ
อาทิตย์ที่ ๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๔
เสาร์ที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๙
ประโยชน์ของสมาธิภาวนา ๔ ประการ
• สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน
• สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อญาณทัสสนะ
• สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อสติสัมปชัญญะ
• สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญให้มากแล้วย่อมเป็นไป
เพื่อความสิ้นอาสวะ
ที.ปา. (ไทย) 11/307/279 .
วันศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2560