คำถาม
: หลวงพ่อค่ะ หลังจากจบอบรมไปแล้ว กลับบ้านไปจะรักษาศีล ๘ ได้อย่างไรเจ้าค่ะ
คุณครูไม่ใหญ่ : การรักษาศีล ๘ สำหรับลูกหญิง
ซึ่งยังเป็นนักศึกษาอยู่
ควรจะทำในจังหวะที่เหมาะสม คือ
ตอนที่เราแข็งแรง และตรงกับเทศกาล จะเป็นวันพระ วันโกนก็ได้ เดือนหนึ่งมีวันพระตั้ง ๔ ครั้ง
ช่วงที่เราแข็งแรงก็มีตั้งหลายครั้ง
แต่ช่วงไหนที่เราไม่สะดวกก็ลดลงมาแค่รักษาศีล ๕
เพราะว่าสิ่งแวดล้อมทางโลกนั้นไม่เหมือนกับในวัด แค่ใครรักษาศีล ๕
เขาก็ว่าผิดแผกจากเขาไปแล้ว
แต่เราก็ต้องกล้าหาญพอที่จะทำความดี
และเป็นผู้นำในการทำความดีให้แก่โลก
เพราะฉะนั้น ศีล ๘
ให้ถือเอาตอนที่เรามีความพร้อมทั้งร่างกายและในวาระโอกาสสำคัญ ถ้าเราถืออย่างนี้ได้ ใคร ๆ ก็ติเราไม่ได้ เช่น สมมติเราถือวันพระ ถ้าใครมาถามว่า ทำไมถือศีล ๘
เราก็บอกว่า วันนี้วันพระ วันนี้วันโกน
หรือสมมติว่า เราเกิดวันจันทร์ เราก็ถือศีล ๘ ในวันเกิดของเราอีกวันหนึ่ง ใครก็ว่าเราไม่ได้ เราก็บอกว่า เราถือศีล ๘ ทุกวันจันทร์ เพราะตรงกับวันเกิดของเรา ถ้าเราเกิดวันอังคารก็ถือวันอังคาร
และถ้าเกิดคุณพ่อเกิดวันพุธก็ถือให้คุณพ่ออีกวัน คุณพ่อวัน คุณแม่วัน คุณลูกวันหนึ่ง
ให้พระวันหนึ่ง แล้วทีนี้เราจะนึกถึง
คุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย ก็ถือได้ เรามีเหตุผลที่จะตอบเขา
ถ้าหากเรามีเหตุผลตอบเขาอย่างนี้
ใครเขาก็อยากจะเอาอย่าง
เขาก็จะมีกำลังใจว่า “เออ ถ้าอย่างนั้น เขาก็ทำได้” ถ้าเขาถามว่า
เขาจะทำบ้างได้ไหม
ก็ให้บอกเขาว่า “ได้”
คุณก็เริ่มจากวันเกิดของตัวเองก่อน”
ถ้าอยู่ที่บ้าน
คุณพ่อคุณแม่ถาม
ก็เล่าให้ท่านฟังว่า “ปกติลูกไม่ได้ถือศีล
๘ ตลอด”
ท่านจะได้สบายใจ ไม่อย่างนั้น ท่านจะนึกว่า เราเป็นแม่ชี หรือท่านกำลังทำอาหารอร่อย ๆ ให้ลูกทาน อุตส่าห์ทำมากับมือ มันเป็นความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พ่อกับแม่จะให้กับลูก พอท่านทำเสร็จแล้ว เราก็บอกว่า ไม่ทานเพราะถือศีล ๘ ท่านก็จะเสียกำลังใจ แต่เพื่อจะไม่ให้ท่านเสียกำลังใจ ก็ต้องทำให้ท่านเข้าใจว่า เนื่องจากวันนี้เป็นวันเกิดของลูก ลูกขอถือศีล ๘
ท่านก็จะไม่ว่าอะไร วันถัดมา
ก็ถือให้ในวันเกิดของพ่อ ถือให้พ่อ
ถือให้แม่ ปู่ย่า ตายาย ไปเรื่อย ถ้าทำอย่างนี้
จะถือศีล ๘ ได้อย่างสะดวกสบายเลย
คำตอบคุณครูไม่ใหญ่
วันศุกร์ที่ ๙
พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๔๐
ธรรมทายาทหญิง
สวนพนาวัฒน์ อ.ฮอด
จ.เชียงใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563