ไม่อยากอะไรทั้งหมดเลย
ต้องเลิกอยากลาหยอกนะ
การติดใจในอารมณ์ที่สมหวัง อารมณ์ที่นั่งแล้วได้ผลดี เป็นกันทุกคน
เพราะว่าเรารอคอยอารมณ์ที่ดี ๆ อย่างนี้มาหลายปี แล้วพอได้สักครั้งมันติดใจ
ติดใจก็อยากได้อีก พออยากได้อีกก็แสวงหา ใจมันก็ดิ้นทุรนทุราย
จำไว้ให้ดี เส้นทางสายกลางสบายตลอดเส้นทาง ตั้งแต่เบื้องต้นจนกระทั่งถึงปริโยสานเลย
ต้องเริ่มต้นอย่างง่ายๆ ไม่มีกด ไม่มีบังคับ ไม่มีเครียด ไม่มีอึดอัด มีแต่อึดออก
สบาย เบิกบาน สดชื่น แจ่มใส
**อย่าลืมนะ
ให้เอาตัวเราเป็นครู ถ้ารู้สึกไม่สบาย ให้รู้เลยว่า ไปบังคับมันแล้ว ตั้งใจมาก
ไม่สบาย ต้องปรับนะ
ฟุ้งก็ไม่สบายนะ แต่มันเพลิน แต่บางทีก็ไม่เพลิน แต่ไม่รู้จะทำอย่างไร
จะไม่สบาย ตอนที่จะบังคับไม่ให้ฟุ้ง
รำคาญมันเหลือเกินไม่น่าฟุ้ง แต่ถ้าไม่สบายนี่เครียด ตั้งใจมาก อยากมาก
ความอยากนี่
แม้แต่พระอนุรุทธะยังเจอเลย สมัยเป็นพระอนาคามี ติดอยู่ขั้นนั้นตั้งนาน เข้าไปหาพระสารีบุตร
บอกกระผมมีความชำนาญเรื่องทิพยจักขุ ยกเว้นเวลาฉันแล้วสอดส่ายดูสัตว์โลกอยู่ตลอดเวลาด้วยทิพยจักขุ ไม่ได้นอนมาเลย ๒๐ กว่าปี ทำความเพียรตลอด แต่ทำไมยังไม่บรรลุพระอรหันต์สักที
พระสารีบุตรบอก ก็มันติดตรงนี้ ตรงอยาก คล้าย ๆ มันจะคว้า จะคว้า
แล้วมันคว้าไม่ได้ มันอยากได้ เพราะฉะนั้นแม้พระอริยบุคคลยังติดอยู่
อยากนี่สำคัญนะ ถ้า “หยุด” ล่ะถึงจะดี
เอาตัวเราเป็นครู หมั่นสังเกต
ถ้าไม่สบายต้องปรับ
ถ้าเริ่มรู้สึกท้อใจ
หมดกำลังใจจะทำความดี หมดกำลังใจจะนิ่งแล้ว รู้สึกน้อยใจตัวเอง คนอื่นเขาใจออกจากกลางของกลางเรื่อย
ๆ ทำไมเราไม่มี ให้รู้เลยนะความอยากเข้าไปครอบงำแล้ว ยิ่งอยาก ยิ่งยาก ไม่สมหวัง
พอนั่งไม่ค่อยได้ผล
มันเบื่อ ท้อใจ หมดกำลังใจ หมดหวัง แล้วก็มานั่งคิดวน ๆ ว่า ชาตินี้จะได้หรือเปล่า
เหมือนรุ่นที่แล้วเขียนมาในประสบการณ์
“หลวงพ่อครับผมจะมีหวังได้ธรรมกายกับเขาไหม” โถ น่าสงสารจัง
บอกท่านทำไมจะไม่ได้
ธรรมกายอยู่ในตัวท่าน มีอยู่แล้ว ศูนย์กลางกายท่านก็มีอยู่ ใจท่านก็มี
วิธีการหลวงพ่อก็บอกแล้ว ให้เอาใจหยุดตรงศูนย์กลางกาย ท่านทำแค่นี้ไม่ได้หรือ
ถ้าท่านทำแค่นี้ มันก็ได้ ไม่ใช่ว่าเราไปหาสิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลก ไม่มีอยู่ในกายเรา
เออ ถ้าอย่างนั้นล่ะก็หมดปัญญา ทำอย่างไรก็ไม่ไหว แต่นี่ของมันมีอยู่แล้ว
เป็นแต่เพียงยังไม่ถูกวิธี
เพราะฉะนั้น
นี่คือข้อสังเกต ท้อเมื่อไร เริ่มมีคำถามขึ้นมาในใจ เมื่อไรเราจะมีหวังได้กับเขาไหมนี่ หรือเริ่มเปรียบเทียบกับเพื่อนฝูงรุ่นเดียวกัน มาด้วยกันแท้
ๆ ทำไมเขาถึงก่อน ทำไมเขาเห็นก่อน ทำไมเราไม่ได้ นี่แสดงว่าปฏิบัติยังไม่ถูกวิธี
มันเลยไม่มีรางวัลตอบแทนการปฏิบัติ
ถ้าเราปฏิบัติอย่างถูกวิธี
ให้ใจหยุด ใจนิ่ง ใจใส ใจสบาย พออารมณ์ปลอดโปร่งขึ้น รู้สึกมันมีกำลังใจ นั่นละเป็นรางวัลที่ผู้รู้ภายในจะตอบแทนเรา
เรามีความรู้สึก เออ ปลอดโปร่ง นั่งรู้สึกพอจะเห็นความหวัง รู้สึกสบาย
พอใจกับอารมณ์นี้ ไม่อิ่ม ไม่เบื่อหน่าย ในการนั่ง มีความรู้สึกปรารถนาจะนั่งโดยไม่มีความรู้สึกว่า
พยายามจะนั่ง หรือฝืนนั่ง นี่ถูกวิธี จะได้รางวัลอย่างนี้ มีมากเข้าๆ ปีติก็เกิด
อิ่มอกอิ่มใจเบิกบาน กายก็สงบระงับ สงบนิ่ง ไม่ปวด ไม่เมื่อย
ถ้าปวดเมื่อยถามหา
ให้รู้เลยว่า วางใจยังไม่เป็น ยังไม่สงบ ถ้ากายสงบระงับ สบาย นั่งนานเท่าไรก็ได้
เวลารู้สึกหมดไปอย่างรวดเร็วเหลือเกิน แล้วก็ไม่มีความรู้สึกกับดินอากาศฟ้า
บรรยากาศมันจะร้อน จะหนาว จะอบอ้าว รู้สึกไม่ค่อยสนใจเท่าไร ใจมันจะสนอยู่ตรงกลาง
ตรงหยุด ตรงนิ่ง นี่สังเกตนะ แล้วเราก็ปรับ
ถ้านั่งดี
ๆ แล้ว จะเป็นอย่างนี้ สบายเบิกบาน ต้นไม้ก็ยิ้มกับเรา ตึกรามบ้านช่องก้อนอิฐก้อนหินยิ้มกับเรา
เพราะเรายิ้มกับมัน ยิ้มลึก ๆ ยิ้มจากหัวใจ
ยิ้มมาจากภายใน แล้วส่งกันต่อ ๆ มาถึงยิ้มภายนอกขยายออกมาอย่างนั้น นี่คืออานิสงส์ของการปฏิบัติอย่างถูกต้อง คือหยุดกับนิ่งสบาย ๆ วางอารมณ์สบาย ๆ
มันก็มีอานิสงส์อย่างนี้ สังเกตนะ
คุณครูไม่ใหญ่
วันจันทร์ที่ ๙ มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๓๕
------------------------------------
ผู้ฟัง : พระภิกษุ, เจ้าหน้าที่
สถานที่: ดอยสุเทพ
จ. เชียงใหม่
วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2563